คำอธิบายรายวิชา
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
คำอธิบายรายวิชา จำนวน เวลา ๘๐ ชั่วโมง
รายวิชา สุขศึกษา เวลา ๔๐ ชั่วโมง / ปี ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
ศึกษา สังเกต รวบรวมความรู้และข้อปฏิบัติต่าง ๆ อภิปราย ซักถาม บันทึก หาคำตอบ อธิบาย แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่ของอวัยวะต่างๆการป้องกันดูแลและรักษาความสะอาดอวัยวะของร่างกายพัฒนาการทางกายและจิตใจ รู้จักตนเองและธรรมชาติของตน ป้องกันโรค เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ มีสุขนิสัยที่ดีตามสุขบัญญัติแห่งชาติ จุดดีจุดด้อย ระมัดระวังการเจ็บป่วย สาเหตุ วิธีป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำและทางบก การใช้ยาสามัญประจำบ้าน โทษของ สารเสพติด สารอันตรายใกล้ตัว ความหมายของสัญลักษณ์และป้ายเตือนของสิ่งของหรือสถานที่ที่เป็นอันตราย สาเหตุ อันตรายและการป้องกันอัคคีภัย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กำหนดแนวปฏิบัติของตนในการสร้างเสริมสุขภาพ
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการดำเนินชีวิตเป็นผู้มีสุขบัญญัติที่ดี มีจิตสำนึกในการดูแล และรับผิดชอบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ จัดการกับความขัดแย้ง ความเครียด และปัญหาทางอารมณ์ มีการแสวงหา เลือก และใช้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีคุณธรรมจริยธรรม
รายวิชา พลศึกษา เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง / ปี ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ฝึก ควบคุม เข้าร่วมกิจกรรม บอกวิธี การเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ ใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ขว้าง กลิ้ง ตี เหวี่ยง ปา โยน เดิน วิ่ง กระโดด ปีน ห้อยโหน ไต่ราว ทรงตัว ระเบียบแถว เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะและเพลง เช่น ซอยเท้าอยู่กับที่ เดินซอยเท้า กายบริหารประกอบจังหวัดและเพลง เป็นต้น เล่นเกมและกีฬา การละเล่นของเด็กไทย เล่นเกมเบ็ดเตล็ด เล่นเกมแบบผลัด ออกกำลังกาย สร้างเสริมและทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
โดยการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญและเห็นคุณค่า ศึกษาหาความรู้ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีระเบียบ วินัย เคารพสิทธิ กฎ และกติกา เข้าร่วมกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ มีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ รักการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา มีน้ำใจนักกีฬา เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจ รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สนุกสนาน เพลิดเพลิน เสียสละและคำนึงถึงส่วนรวม ชื่นชมผลงานของผู้อื่น ให้ความร่วมมือ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองตามความสนใจ ตามคำแนะนำ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓ พ ๒.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔ พ ๓.๑ ป. ๒/๑,
ป. ๒/๒ พ ๓.๒ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒ พ ๔.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒/๓, ป. ๒/๔, ป. ๒/๕
พ ๕.๑ ป. ๒/๑, ป. ๒/๒, ป. ๒./๓, ป. ๒/๔, ป. ๒/๕ รวม ๒๑ ตัวชี้วัด
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
คำอธิบายรายวิชา จำนวนเวลา ๘๐ ชั่วโมง
รายวิชา สุขศึกษา เวลา ๔๐ ชั่วโมง / ปี ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
ศึกษา สังเกต รวบรวมความรู้และข้อปฏิบัติต่าง ๆ อภิปราย ซักถาม บันทึก หาคำตอบ อธิบาย แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและการเจริญเติบโตของร่างกาย เกณฑ์มาตรฐาน
ของการเจริญเติบโตของเด็กไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ป้องกันโรค เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และยาสามัญประจำบ้าน มีสุขนิสัยที่ดีตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ รู้จักตนเองและธรรมชาติของตนเอง ระมัดระวังการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ โรคติดต่อในท้องถิ่น อุบัติเหตุ การใช้ยาผิด สารพิษ สารเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ กำหนดแนวปฏิบัติของตนในการสร้างเสริมสุขภาพ
โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการดำเนินชีวิตเป็นผู้มีสุขบัญญัติที่ดี มีจิตสำนึกในการดูแล และรับผิดชอบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ จัดการกับความขัดแย้ง ความเครียด และปัญหาทางอารมณ์ มีการแสวงหา เลือก และใช้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีคุณธรรมจริยธรรม
พึ่งตนเองและมีวิสัยทัศน์ในการดูแลสุขภาพและการดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพในท้องถิ่น ภูมิใจในการส่งเสริมสุขภาพด้านภูมิปัญญาไทย
รายวิชา พลศึกษาเวลา ๔๐ ชั่วโมง/ปี ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ฝึก ควบคุม เข้าร่วมกิจกรรม บอกวิธี การเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ ระเบียบแถว กิจกรรมประกอบจังหวะและเพลง เกมเบ็ดเตล็ด เกมนำไปสู่กีฬา ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน กีฬา กิจกรรมนันทนาการ กายบริหาร การละเล่นของเด็กไทย เกมแบบผลัด ออกกำลังกาย สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต ทดสอบสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
โดยการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญและเห็นคุณค่า ศึกษาหาความรู้ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ มีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ รักการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาตามกฎ กติกา อย่างมีระเบียบ วินัย มีน้ำใจนักกีฬา เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สนุกสนาน เพลิดเพลิน ชื่นชมผลงานของผู้อื่น ให้ความร่วมมือ เสียสละและคำนึงถึงส่วนรวม และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้ตามคำแนะนำ
ตัวชี้วัด พ ๑.๑ ป. ๓/๑, ป.๓/๒, ป. ๓/๓ พ ๒.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓ พ ๓.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒
พ ๓.๒ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒ พ ๔.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕ พ ๕.๑ ป. ๓/๑,
ป. ๓/๒, ป. ๓/๓ รวม ๑๘ ตัวชี้วัด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)